ภาวะตกขาวคันในช่องคลอดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยส่วนใหญ่ ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของจำนวนสิ่งมีชีวิตในช่องคลอดโดยเฉพาะเชื้อราซึ่งเป็นเชื้อประจำถิ่น อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิด ภาวะนี้ได้หากฝ่ายชายมีการติดเชื้อราที่บริเวณอวัยวะเพศ
ภาวะตกขาวคันในช่องคลอดเกิดจากอะไร
มักจะเกิดจากจำนวนเชื้อราในช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น ปกติในช่องคลอดของผู้หญิงจะมีเชื้อราอาศัยอยู่บ้าง เมื่อมีสภาวะในช่องคลอดเปลี่ยนไปและเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา ก็จะมีอาการตกขาวปริมาณมากขึ้นและคันในช่องคลอด ภาวะเหล่านั้น ได้แก่ การตั้งครรภ์ การใส่เสื้อผ้าแน่นหรือคับเกินไป การรับประทานยาปฏิชีวนะมากเกินไป การได้รับยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคภูมิต้านทานบกพร่องอื่นๆ และการใช้น้ำยาเฉพาะที่มากเกินไป สำหรับบางรายความเครียดก็อาจมีผลได้
อาการในผู้หญิง ได้แก่ คัน แสบ แดงบริเวณปากช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก จนถึง ทวารหนัก ตกขาวลักษณะข้นเป็นก้อนปนน้ำคล้ายโยเกิร์ต ปัสสาวะแสบขัด เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น อาการในผู้ชาย ได้แก่ ระคายเคือง แสบ คัน บริเวณส่วนปลายขององคชาต หนังหุ้มปลายองคชาตแดงและเจ็บ มีสารสีขาวปนน้ำคล้ายโยเกิร์ตบริเวณใต้ต่อหนังหุ้มปลายองคชาต
แพทย์จะทำการตรวจภายในและเก็บตกขาวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ในกรณีที่ คู่นอนฝ่ายชายมีอาการแพทย์จะทำการตรวจบริเวณอวัยวะเพศภายนอกและเก็บสิ่งส่งตรวจที่บริเวณใต้ต่อหนังหุ้มปลายองคชาต
การเก็บตกขาวนี้ทำโดยใช้ไม้พันสำลีขนาดเล็ก ป้ายที่บริเวณส่วนในของช่องคลอด โดยใช้เวลาเพียง 2-3 วินาที แล้วนำไปดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยส่วนใหญ่ขั้นตอนนี้เพียงพอสำหรับการวินิจฉัย แต่หากต้องการเพาะเชื้อ จะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยการเพาะเชื้อจะทำเมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนอง ต่ออาการรักษาด้วยสูตรยาปกติ
ควรรักษาเมื่อมีอาการและตรวจพบเชื้อราในตกขาว หรือในบางครั้งการวินิจฉัยอาจได้จากผล การตรวจมะเร็งปากมดลูก ทางเลือกในการรักษามีทั้งยารับประทาน ยาทาและยาเหน็บทางช่องคลอด การรักษาภาวะนี้ทำได้ง่ายมาก แต่ต้องใช้ยาอย่างถูกต้อง ดังนี้ การเหน็บยาควรเหน็บในช่องคลอดให้ลึกที่สุดและงดเพศสัมพันธ์ขณะเหน็บยา ยาทานั้นมักทาเพียงภายนอก และควรทาวันละ 2 ครั้ง หลังอาบน้ำ เช้า-เย็น เป็นเวลา 7-14 วัน
ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งเพราะไม่ควรใช้ยารับประทาน ยาทาและยาเหน็บจะลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดบางชนิด เช่น ถุงยางอนามัยที่ทำมาจาก ลาเท็กซ์ แผ่นคุมกำเนิดที่ใส่เข้าไปในช่องคลอด เป็นต้น
การรักษาส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพดีมาก โดยอาการมักดีขึ้นภายใน 3-4 วัน และไม่จำเป็นต้องกลับมาตรวจซ้ำ ยกเว้น อาการไม่ดีขึ้นเลยในเวลา 1 สัปดาห์ ควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินซ้ำ
ถ้าท่านมีอาการมากกว่า 4 ครั้งต่อปี โดยแต่ละครั้งท่านมีหลักฐานการตรวจว่าเป็นเชื้อราในช่องคลอดจริง แสดงว่าท่านมีภาวะติดเชื้อซ้ำซาก การดูแลตนเองเพิ่มเติม ได้แก่ ควรตรวจหาภาวะเบาหวาน รับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน และมารับการเพาะเชื้อหาชนิดของเชื้อราต้นเหตุ
อย่างไรก็ตาม อาการคันในช่องคลอด สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาวะปกติ เพราะสารคัดหลั่งในช่องคลอดเป็นกรด ทำให้เกิดอาการระคายเคืองขึ้นได้บ่อยครั้งที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นติดเชื้อรา ดังนั้นหากท่านมีอาการเล็กน้อย ท่านไม่ควรซื้อยามาใช้เองเพราะอาจเป็นการรักษาที่ไม่จำเป็นและจะทำให้เกิดการดื้อยาได้
ไม่จำเป็น ยกเว้นคู่นอนของท่านมีอาการคันร่วมด้วย แต่ควรมารับการตรวจก่อนเริ่มการรักษา
ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เกิดมีภาวะมีบุตรยาก
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ทำให้มีน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราในช่องคลอดสูงขึ้น การรักษาทำได้ง่ายโดยใช้ยาเหน็บหรือยาทา และอาจกลับเป็นซ้ำได้บ่อยจนกระทั่งคลอด ภาวะนี้ไม่ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ในขณะนี้ ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว
มักจะเกิดจากจำนวนเชื้อราในช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น ปกติในช่องคลอดของผู้หญิงจะมีเชื้อราอาศัยอยู่บ้าง เมื่อมีสภาวะในช่องคลอดเปลี่ยนไปและเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา ก็จะมีอาการตกขาวปริมาณมากขึ้นและคันในช่องคลอด ภาวะเหล่านั้น ได้แก่ การตั้งครรภ์ การใส่เสื้อผ้าแน่นหรือคับเกินไป การรับประทานยาปฏิชีวนะมากเกินไป การได้รับยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคภูมิต้านทานบกพร่องอื่นๆ และการใช้น้ำยาเฉพาะที่มากเกินไป สำหรับบางรายความเครียดก็อาจมีผลได้
อาการในผู้หญิง ได้แก่ คัน แสบ แดงบริเวณปากช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก จนถึง ทวารหนัก ตกขาวลักษณะข้นเป็นก้อนปนน้ำคล้ายโยเกิร์ต ปัสสาวะแสบขัด เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น อาการในผู้ชาย ได้แก่ ระคายเคือง แสบ คัน บริเวณส่วนปลายขององคชาต หนังหุ้มปลายองคชาตแดงและเจ็บ มีสารสีขาวปนน้ำคล้ายโยเกิร์ตบริเวณใต้ต่อหนังหุ้มปลายองคชาต
แพทย์จะทำการตรวจภายในและเก็บตกขาวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ในกรณีที่ คู่นอนฝ่ายชายมีอาการแพทย์จะทำการตรวจบริเวณอวัยวะเพศภายนอกและเก็บสิ่งส่งตรวจที่บริเวณใต้ต่อหนังหุ้มปลายองคชาต
การเก็บตกขาวนี้ทำโดยใช้ไม้พันสำลีขนาดเล็ก ป้ายที่บริเวณส่วนในของช่องคลอด โดยใช้เวลาเพียง 2-3 วินาที แล้วนำไปดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยส่วนใหญ่ขั้นตอนนี้เพียงพอสำหรับการวินิจฉัย แต่หากต้องการเพาะเชื้อ จะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยการเพาะเชื้อจะทำเมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนอง ต่ออาการรักษาด้วยสูตรยาปกติ
ควรรักษาเมื่อมีอาการและตรวจพบเชื้อราในตกขาว หรือในบางครั้งการวินิจฉัยอาจได้จากผล การตรวจมะเร็งปากมดลูก ทางเลือกในการรักษามีทั้งยารับประทาน ยาทาและยาเหน็บทางช่องคลอด การรักษาภาวะนี้ทำได้ง่ายมาก แต่ต้องใช้ยาอย่างถูกต้อง ดังนี้ การเหน็บยาควรเหน็บในช่องคลอดให้ลึกที่สุดและงดเพศสัมพันธ์ขณะเหน็บยา ยาทานั้นมักทาเพียงภายนอก และควรทาวันละ 2 ครั้ง หลังอาบน้ำ เช้า-เย็น เป็นเวลา 7-14 วัน
ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งเพราะไม่ควรใช้ยารับประทาน ยาทาและยาเหน็บจะลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดบางชนิด เช่น ถุงยางอนามัยที่ทำมาจาก ลาเท็กซ์ แผ่นคุมกำเนิดที่ใส่เข้าไปในช่องคลอด เป็นต้น
การรักษาส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพดีมาก โดยอาการมักดีขึ้นภายใน 3-4 วัน และไม่จำเป็นต้องกลับมาตรวจซ้ำ ยกเว้น อาการไม่ดีขึ้นเลยในเวลา 1 สัปดาห์ ควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินซ้ำ
ถ้าท่านมีอาการมากกว่า 4 ครั้งต่อปี โดยแต่ละครั้งท่านมีหลักฐานการตรวจว่าเป็นเชื้อราในช่องคลอดจริง แสดงว่าท่านมีภาวะติดเชื้อซ้ำซาก การดูแลตนเองเพิ่มเติม ได้แก่ ควรตรวจหาภาวะเบาหวาน รับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน และมารับการเพาะเชื้อหาชนิดของเชื้อราต้นเหตุ
อย่างไรก็ตาม อาการคันในช่องคลอด สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาวะปกติ เพราะสารคัดหลั่งในช่องคลอดเป็นกรด ทำให้เกิดอาการระคายเคืองขึ้นได้บ่อยครั้งที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นติดเชื้อรา ดังนั้นหากท่านมีอาการเล็กน้อย ท่านไม่ควรซื้อยามาใช้เองเพราะอาจเป็นการรักษาที่ไม่จำเป็นและจะทำให้เกิดการดื้อยาได้
ไม่จำเป็น ยกเว้นคู่นอนของท่านมีอาการคันร่วมด้วย แต่ควรมารับการตรวจก่อนเริ่มการรักษา
ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เกิดมีภาวะมีบุตรยาก
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ทำให้มีน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราในช่องคลอดสูงขึ้น การรักษาทำได้ง่ายโดยใช้ยาเหน็บหรือยาทา และอาจกลับเป็นซ้ำได้บ่อยจนกระทั่งคลอด ภาวะนี้ไม่ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ในขณะนี้ ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว