โรคเอดส์ (AIDS)

โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS) 

เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้ติดเชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อาการจะรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันโรคเอดส์มีการตรวจพบทั่วโลก และประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคเอดส์ อย่างน้อย 25 ล้านคน ตั้งแต่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) นับเป็นโรคที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ประมาณการว่ามีผู้ติดโรคเอดส์ประมาณ 3.1 ล้านคน(ระหว่าง 2.8 - 3.6 ล้าน) ซึ่ง 570,000 คนของผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นเด็ก (UNAIDS, 2005)

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อของโรคเอดส์

โรคเอดส์สามารถติดต่อได้โดยการได้รับเลือด และ/หรือสารคัดหลั่ง (Secretion) เช่นน้ำอสุจิ น้ำเมือกในช่องคลอด จากผู้ที่ติดเชื้อเชื้อ HIV แพร่ กระจายโดยการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ ถุงยางอนามัย (condom) เป็นสิ่งจำเป็นมากในการช่ วยป้องกันโรคเอดส์ และยังช่ วยป้องกัน โรคติดต่ อทางเพศสัมพันธ์ อื่นได้ อีกด้ วย ดังนั้ นการไม่ ใช้ ถุงยางอนามัย จึงทำให้ เกิดความเสี่ยงต่ อการได้ รับเชื้อสูงซึ่งมีหลายวิธี ดังต่อไปนี้

การมีเพศสัมพันธ์ ทางทวารหนักโดยไม่ สวมถุงยางอนามัย ความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงมาก สำหรับคู่ เพศสัมพันธ์ ทั้ งสองฝ่ าย แม้ จะไม่ หลั่งน้ำอสุจิก็ตาม วิธีป้องกัน ต้ องสวมถุงยางอนามัย และใช้ สารหล่อลื่น อย่ างเพียงพอ

 การมีเพศสัมพันธ์ ทางช่ องคลอดโดยไม่ สวมถุงยางอนามัย ความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง ทั้ งผู้ หญิงและผู้ ชาย       แม้ ฝ่ ายชายจะไม่ หลั่งน้ำอสุจิก็ตาม วิธีป้องกัน สวมถุงยางอนามัย (condom)

การมีเพศสัมพันธ์ โดยใช้ ปาก (oral sex) โดยไม่ มีการป้องกัน มีความเสี่ยง วิธีป้องกัน ไม่ ควรกระทำในขณะที่ฝ่ ายหญิงมีรอบเดือน ไม่ หลั่งน้ำอสุจิในปาก ไม่ กลืนน้ำอสุจิ

การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น (หลอดเลือดโดยใช้เข็มฉีดร่วมกับคนอื่น การเสพสารเสพติด การใช้ เข็มหรือกระบอกฉีดร่ วมกับผู้ อื่น ความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงมาก วิธีป้องกัน ใช้ เครื่องมือในการฉีดหรือกระบอกฉีดที่สะอาด (เช่ น เข็ม ที่กรอง สำลีช้ อน น้ำ) ไม่ ใช้ เครื่องมือในการฉีดร่ วมกับผู้ อื่น การไม่ ปฎิบัติตามมาตรการดังกล่ าว นอกจากมีความเสี่ยง ในการติดเชื้อ HIV สูงมากแล้ ว อาจทำให้ ติดเชื้อไวรัส- ตับอักเสบ ซี (HCV ย่ อมาจาก Hepatitis-C-Virus ) อีกด้ วย

ทางการรับเลือดจากผู้อื่นที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ผู้ที่มีความเสี่ยงในกลุ่มนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเลือดเรื้อรังที่ต้องรับเลือดเป็นประจำ เช่น โรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) หรือผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่ติดเชื้อ 

ติดต่อจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ลูก ซึ่งอาจติดต่อได้ทางเลือดจากแม่สู่ลูกโดยตรงผ่านทางรก หรือจากการที่ทารกกลืนเลือดของแม่ระหว่างการคลอด หรือได้รับเชื้อที่อยู่ในน้ำนมแม่ก็ได้การแพร่ เชื้อจากแม่ ไปสู่ ลูก ในระหว่ างการตั้งครรภ์ ระหว่ างคลอดและการให้ นมบุตร อัตราการเสี่ยงที่ลูกอาจติดเชื้อ HIV จากแม่ สูงมาก วิธีป้องกัน เมื่อตรวจพบว่ าแม่ มีเชื้อเอช ไอ วีให้ แม่ กินยาต้ านเชื้อไวรัส และใช้ มาตราการอื่นๆ ป้องกันการติดเชื้อร่ วมด้ วย

การติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์จากอุบัติเหตุทางการแพทย์ เช่น ถูกเข็มฉีดยา หรือเข็มเจาะเลือดผู้ป่วยตำนิ้วโดยบังเอิญ ซึ่งเคยมีรายงานว่าทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อได้ ถึงแม้จะมีโอกาสน้อยก็ตาม  โรคเอดส์ไม่สามารถติดต่อทางยุงกัด หรือการสัมผัสผิวหนังภายนอก เช่น การจับมือ การกอด เชื้อไวรัสที่ปะปนออกมาในเลือด และในเสมหะที่ออกมาอยู่นอกร่างกายแล้วโดยมากจะมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และจะถูกทำลายได้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทั่วไป น้ำยาฟอร์มาลิน น้ำยาแอลกอฮอล์ การตายของเซลล์ที่ตัวไวรัสอาศัยอยู่จากความแห้งหรือจากแสงแดด ก็จะทำให้เชื้อตายไปด้วยเช่นกัน

การติดเชื้อเอชไอวีจากน้ำลายหรือน้ำตา มีโอกาสเกิดได้น้อยมากๆ มักเป็นในกรณี มีเลือดปนสารคัดหลั่งเหล่านี้ด้วย ดังนั้น การจูบปากโดยปิดปาก จึงไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้

อาการของโรค

           อาการของการติดเชื้อ HIV จะมีความหลากหลายขึ้นกับระยะของโรค เนื่องจากเชื้อ HIV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งอาการของการติดเชื้อ HIV จะเหมือนอาการของไข้หวัดคือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่น อ่อนเพลีย เราไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อ HIV จะไม่มีอาการแต่เขาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้  ฉนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรได้รับการเจาะเลือดในช่วงแรกของการติดเชื้อ HIV คุณอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้ ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต มักจะเป็นอาการอันแรกของการติดเชื้อ ท้องร่วง บางคนอาจจะเรื้อรัง น้ำหนักลด มีไข้ไอและหายใจลำบาก เมื่อไม่ได้รับการรักษาเชื้อก็จะแบ่งตัวเรื่อยและทำลายระบบภูมิคุ้มกันและกลายเป็นโรคเอดส์ซึ่งจะมีอาการดังนี้ เหงื่ออกกลางคืนไข้หนาวสั่น ไข้สูงเรื้อรังไอเรื้อรังและหายใจลำบาก ท้องร่วงเรื้อรังลิ้นเป็นฝ้าขาว ปวดศีรษะ ตามัวลงหรือเห็นเป็นเส้นลอยไปมา น้ำหนักลด เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย หากเป็นผู้หญิงก็มีอาการตกขาวบ่อย เพลียและเหนื่อยง่าย บางคนมีผื่นตามตัว

 การป้องกันการติดเชื้อ HIV จากเพศสัมพันธ์

          การติดเชื้อ HIV จะสามารถติดต่อทางเยื่อเมือก (mucous membranes)เช่น ปลายอวัยวะเพศชาย ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หากเยื่อเมือกเหล่านี้ได้รับเชื้อ HIV จาก น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นของทั้งหญิงและชาย เลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ วิธีป้องกันที่ได้ผลมากที่สุดแต่ทำยากที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น ป้องกันตัวเองทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางที่ทำจากยาง latex condom หรือ dental dam หากแพ้ยาง latex ให้ใช้ชนิด polyurethane condoms นอกจากการเลือกใช้ชนิดของถุงยางแล้ว ต้องเรียนรู้วิธีใช้ที่ถูกต้อง ห้ามใช้สารหล่อลื่นที่เป็นไขมันเพราะจะทำให้ถุงยางรั่ว กิจกรรมที่เสี่ยงและไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV การมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางทวารและช่องคลอดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง การมีเพศสัมพันธ์ทางปากก็มีความเสี่ยง ดังนั้นต้องใส่ถุงยางป้องกัน การช่วยตัวเอง การกอดรัดเล้าโลม การจูบ พวกนี้มีโอกาสการติดเชื้อต่ำ

การป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น

         เชื้อ HIV สามารถติดต่อผ่านทางเข็มฉีดยาที่ใช้ร่วมกัน เข็มดังกล่าวจะปนเปื้อนเลือด ดังนั้นวิธีป้องกันการติดเชื้อทำได้ดังนี้หยุดยาเสพติดและเข้ารับการบำบัดเพื่อหยุดยาเสพติด หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ให้ใช้เข็มใหม่ทุกครั้ง สำหรับผู้ที่ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เข็มร่วมกัน ก็ให้ล้างเข็มให้สะอาดด้วยน้ำโดยการฉีดล้างกระบอกฉีดยา และแช่เข็มในน้ำยาฆ่าเชื้อ นาที

การป้องกันการติดเชื้อ HIV ในคนท้อง

       เด็กที่คลอดจากแม่ที่มีเชื้อ HIV สามารถรับเชื้อจากแม่ขณะตั้งครรภ์ และการคลอด ปัจจุบันหากทราบว่าคนท้องมีเชื้อ HIV สามารถให้ยา AZT ซึ่งสามารถลดอัตราการติดเชื้อลง

การป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังสัมผัสโรค

ทางการแพทย์มีประสบการณ์เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังสัมผัสโรคโดยศึกษาในเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่ถูกเข็มตำ พบว่าหากให้ AZT หลังถูกเข็มตำจะสามารถลดอุบัติการณ์ลงได้ร้อยละ 80 จากความรู้นี้สามารถนำมาใช้กับการสัมผัสโรคHIVโดยทางเพศสัมพันธ์ ก็น่าจะให้ยาป้องกันได้ การป้องกันดีที่สุดคือไม่มีเพศสัมพันธ์การใส่ถุงยาง การมีเพศสัมพันธ์แบบ safer sexual practices หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกันไม่ว่าทางทวารหรือทางปกติ oral sex กับผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือกลุ่มเสี่ยงเช่นผู้ที่ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ควรจะได้รับยาป้องกันภายใน วันหลังสัมผัส และหากท่านทราบว่าตัวเองติดเชื้อ HIV และไปร่วมเพศกับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อท่านต้องแจ้งให้คู่ขาทราบภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อที่คู่ขาจะได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ HIV

 วิธีรักษา

          การรักษาโรคเอดส์ได้มีการพัฒนามาตลอดมีการพัฒนายาใหม่ๆและการใช้ยาร่วมกัน การรักษาโรคเอดส์สมัยก่อนผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิต แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนารักษาไวรัสรวมทั้งมีการใช้ยาร่วมกันทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าก่อน ดังนั้นผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรจะปรึกษาแพทย์เสียแต่เนินเพื่อวางแผนการรักษาเชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันโดยการทำลายเซลล์ CD4เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัสเป็นเพียงหยุดหรือทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวลดลงทำให้โรคไม่รุกลามจนกลายเป็นเอดส์ข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเพื่อวางแผนการรักษา