การป้องกันการตั้งครรภ์หรือคุมกำเนิดมีหลายวิธีความแตกต่างกัน เช่น
|
| |
- | การใช้ห่วงกำเนิด ป้องการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 98% |
| |
- | การรับประทานยาคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์ประมาณ 95% |
| |
- | การฉีดยาคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 99% |
| |
- | การใช้หมวกครอบปากมดลูก ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 80% |
| |
- | การใช้ยาฝังคุมกำเนิดได้ผิวหนังบริเวณต้นแขน ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 99% |
| |
- | การใช้ถุงยางอนามัยถุงยางอนามัยในผู้ชาย ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 86% |
| |
- | การใช้ยาฆ่าสเปริม์ฉีดล้าง ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 74% |
| |
- | การหลั่งภายนอกช่องคลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 60-80% |
| |
- | การนับวันที่ไข่ตกเพื่อนับระยะปลอดภัย ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 70-75% |
| |
|
คำแนะนำหรือข้อที่พึงระมัดระวังการใช้ยาคุมหลังร่วม ดังนี้
|
| |
- | ต้องรับประทานยาเม็ดแรกให้เร็วที่สุด ซึ่งไม่เกิน 72 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งปกติจะแนะนำให้กินหลังมีเพศสัมพันธ์ 1 ชั่วโมง และอีกเม็ดหนึ่งใน 12 ชั่วโมงต่อมาหากรับประทานช้ากว่ากำหนดไป 12 ชั่วโมงให้ประสิทธิภาพยาคุมกำเนิดลดลง 50% |
| |
- | ประสิทธิภาพของยาในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ได้ 100% จึงควรวิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ร่วม เช่น การใส่ถุงยางอนามัยและยังช่วยลดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ |
| |
- | ประจำเดือนรอบถัดไปอาจมาช้าหรือเร็วกว่าเดิมหรือตรงตามเวลาปกติก็ได้ กรณีที่มาช้ากว่าปกติ 2-3 สัปดาห์ควรทดสอบว่าตั้งครรภ์หรือไม่ และในขณะที่รอรอบเดือนมาควรใช้ถุงยางอนามัยหากมีเพศสัมพันธ์ |
| |
- | กรณีที่ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงหรือมีเลือดออกมากต้องพบแพทย์ โดยเฉพาะหาก 3 สัปดาห์ต่อมามีเลือดออกผิดปกติหรือไม่มีหรือมีระยะสั้นๆ กว่าปกติมาก |
| |
- | ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้ง (4 เม็ด ) ในหนึ่งเดือนและไม่แนะนำให้ใช้ประจำในการป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์อย่างเป็นประจำซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของข้อบงชี้ของยา การใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อทำให้รอบเดือนผิดปกติได้ |
| |
- | เมื่อมีการตั้งครรภ์พบว่ายานี้ไม่มีผลทำให้เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ |
| |
|
| |